Let Us know what you ride! SHOPPING CART

ทดสอบระบบกันสะเทือน TOURATECH กับโมโตแฮงค์

25 กรกฎาคม 2013 แฮงค์ อาร์เรียโซลา ช่างมอเตอร์ไซค์อิสระจากเมืองดิลลีย์ รัฐเท็กซัส มีความชำนาญเป็นพิเศษ ในด้านการแต่งมอเตอร์ไซค์ทัวร์ริ่งแนวผจญภัย




     แฮงค์ผ่านการเดินทางมามากมายไม่ว่าจะเป็นในเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ด้วยระยะทางรวมมากกว่า 480,000 ไมล์บนมอเตอร์ไซค์ BMW R1100GS ของเขา หลายคนอาจจะรู้จัก มร. อาร์เรียโซลา ในฉายา โมโตแฮงค์ (MotoHank) โดยนอกจากเขาจะ เป็นช่างมอเตอร์ไซค์แล้ว ยังเป็นช่างภาพมือฉมัง และ ไกด์นำเที่ยวอีกด้วย สำหรับการเปิดตัวระบบกันสะเทือน Touratech ซึ่งเป็นระบบกันสะเทือนแรกของโลกที่ออกแบบสำหรับมอเตอร์ไซค์ทัวร์ริ่งแนวผจญภัย โดยเฉพาะ เรามีความยินดีมากที่ได้ทราบว่าแฮงค์ ได้นำชุดกันสะเทือนรุ่นใหม่นี้ไปทดลองใช้งานกับการเดินทาง ครั้งล่าสุดของเขาไปยัง เรอัล เด คาทอร์เซ

     หลังจากที่เดินทางร่วมกับ R1100GS ของผมมาเกือบครึ่งล้านไมล์ทั่วอเมริกาเหนือและใต้ ผมมักจะถูกถามอยู่เสมอว่า มีวิธีอะไรบ้างที่จะสามารถปรับปรุงมอเตอร์ไซค์ให้มีสมรรถนะสูงขึ้นได้ ชิ้นส่วนที่สำคัญที่สุด และ คุ้มค่ากับการลงเงินมากที่สุดก็คือระบบกันสะเทือนที่มีคุณภาพ ถึงแม้ว่าในตลาดผลิตภัณฑ์อาฟเตอร์มาร์เก็ตจะมีโช้คอัพให้เลือกมากมาย

     แต่สิ่งที่ทำให้ระบบ กันสะเทือนของ Touratech มีความโดดเด่นเหนือกว่ายี่ห้ออื่นๆ คือการเน้นที่สมรรถนะสำหรับ การขี่แนวผจญภัยโดยเฉพาะ ผมมักจะคอยเตือนนักขี่มอเตอร์ไซค์ท่องเที่ยวเกี่ยวกับการเตรียม มอเตอร์ไซค์อยู่เสมอว่า ให้ซื้อระบบกันสะเทือนที่ดีที่สุดเท่าที่งบจะอำนวย และ อย่าบรรทุกสัมภาระมาก เกินไป หรือพูดง่ายๆ ก็คือ อย่าแบกของไปด้วยมากเกินไป

     มันง่ายมากที่คุณจะขนสัมภาระติดตัวไป มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเดินทางสองคน หลายๆ ครั้ง คุณมักจะพบว่าตัวเองต้องขี่ไป ยังพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลในสภาพถนนหรือภูมิประเทศที่โหดร้าย และแน่นอนว่าปัญหาที่คุณไม่ต้องการเจอมากที่สุด คือการที่โช้คอัพพังเพราะคุณขนของมาเกินพิกัด



     พอผมได้ทราบข่าวเกี่ยวกับโช้คอัพรุ่นใหม่ของ Touratech  ผมคิดไว้ทันทีว่าผมจะต้องหาโอกาสลองให้ได้สักชุด เพราะว่าการขี่ท่องเที่ยวผจญภัยเป็นสไตล์การขี่ที่ผมชอบมากที่สุด แค่เตรียม GS คันโปรด หยิบกล้องติดมือไปด้วย แล้วออกไปค้นหาสถานที่ใหม่ๆ ที่อยากสำรวจ

     ในทางเทคนิคแล้ว โช้คอัพใหม่ของ Touratech นั้นเหมาะสำหรับการขับขี่ที่หนักหน่วงในทุกๆ ด้าน หนึ่งในคุณสมบัติที่ผ่านการออกแบบปรับปรุงใหม่คือ กระบอกโช้คอัพผลิตจากอะลูมิเนียมแข็งแกร่งพิเศษ ซึ่งมีความแข็งแรงมาก แต่สามารถระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้น้ำมันร้อนเกินไป ก้านสูบมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. ซึ่งหนากว่าโช้คอัพยี่ห้ออื่นๆ ในตลาดถึง 2 มม. พร้อมด้วยสปริงขนาดใหญ่กว่าปกติ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณจะได้รับในทันทีที่แกะชุดโช้คอัพออกจากกล่อง พอผมได้รับชุดโช้คอัพที่จัดส่งมาให้ ผมนึกออกในทันทีว่าผมจะเอาไปทดสอบที่ไหน ภาคกลางตอนเหนือของประเทศเม็กซิโกมีหมู่บ้านที่ชื่อว่า เรอัล เด คาทอร์เซ ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเกือบ 10,000 ฟุต


     สภาพภูมิประเทศในบริเวณนี้เต็มไปด้วยพื้นที่ขรุขระ เนินเขา และ ถนนหินกรวดยาวหลายไมล์ที่จะทำให้มอเตอร์ไซค์สั่นสะท้านไปทั้งคัน และ โช้คอัพหลายๆ รุ่นถึงกับซีลแตก นอกจากความงดงามในแบบชนบท และ สภาพภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยหินของเรอัล เด คาทอร์เซ และ บริเวณโดยรอบแล้ว สถานที่แห่งนี้ยังเหมือนกับมีมนต์วิเศษซ่อนอยู่

     การเดินทางมาที่นี่สำหรับผมเปรียบเสมือนกับการเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่อดีต ผมชวน โจเซฟ ซึ่งเป็นเพื่อนของผม ร่วมทางไปด้วยกันในครั้งนี้ด้วย และผมย้ำกับเขาจนแน่ใจว่า อย่าลืมพกกล้องมาด้วย
    
     ทันทีที่ผมขนของสำหรับการเดินทางขึ้นบนรถ รวมถึงอุปกรณ์กล้อง และคอมพิวเตอร์ ผมรู้สึกได้ทันที ว่าระบบกันสะเทือนนั้นแน่นมาก แน่นขนาดที่ผมเรียกว่า “ที่อุดฟันสั่น” เลยทีเดียว แต่ระบบกันสะเทือน แบบนี้แหละที่ผมชอบ สำหรับการขี่ไปบนถนนไฮเวย์ที่ออกจะขรุขระสักเล็กน้อย GS ของผมแทบจะลอยข้ามเนินหลังเต่า “โทเปส” (เนินหลังเต่าของเม็กซิโก) และ หลุมต่างๆ ไปเลย

     ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนมาใช้สปริงที่แข็งขึ้น แต่ GS ก็ยังคงควบคุม ได้ง่ายเช่นเดิม เมื่อเราเริ่มเข้าสู่เส้นทางคดเคี้ยวขึ้นภูเขา ผมเริ่มรู้สึกว่าการควบคุมมอเตอร์ไซค์นั้นยากขึ้นเล็กน้อย ยังไม่ถึงกับยากอะไรมากมาย แต่ผมรู้สึกเกร็งเล็กน้อยขณะที่พา GS เข้าโค้งยาว หลังจากผ่านระยะทางไปได้ 150 ไมล์

     ผมตัดสินใจปรับค่าการคืนตัวของโช้คอัพให้อ่อนลง 3 ระดับ ซึ่งช่วยให้การควบคุมขณะเข้าโค้งดีขึ้นอย่างมาก สิ่งหนึ่งที่ผมไม่ค่อยชอบเกี่ยวกับโช้คอัพของ Touratech ก็คือตำแหน่งของสกรูปรับการคืนตัว ถึงแม้ว่าในชุด คุณจะได้ไขควงหัวหกเหลี่ยมคุณภาพดีมาสำหรับใช้ปรับระดับการคืนตัว แต่สกรูปรับที่ล้อหลังนั้นอยู่ในตำแหน่งใกล้ กับท่อไอเสียมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำหรับการปรับค่าการคืนตัวในขณะที่ท่อยังร้อนอยู่



       หลังจากที่เลี้ยวออกจากถนนสายหลักเพื่อเดินทางไปยังเรอัล เด คาทอร์เซ เราจึงเริ่มผจญกับการสั่นสะท้านบนเส้นทางระยะ 14 ไมล์ที่ปูด้วยหินกรวดขนาดใหญ่ประมาณลูกซอฟต์บอล ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการขี่ไปบนกระดานซักผ้า แต่อย่างไรก็ตาม

      เช่นเดียวกับตอนที่เราเจอหลุมบนไฮเวย์ ระบบกันสะเทือนของ Touratech สามารถดูดซับความไม่เรียบของผิวถนนเอาไว้ได้ ในขณะที่เรายังคงนั่งอยู่บน GS ได้อย่างสบายๆ ถนนเข้าสู่เรอัล นั้นจะพาคุณไต่ขึ้นจากระดับความสูง 2500 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลไปจนถึง 9500 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล การขี่ในวันรุ่งขึ้นของเราจะเป็นการทดสอบที่หนักหน่วงขึ้นไปอีกขั้น


 
      สำหรับระบบกันสะเทือน Touratech โดยเราจะต้องขี่ลงไปยังหุบเขาลึกชัน ผ่านเหมืองเก่า และ เข้าสู่หมู่บ้านที่มีชื่อว่า เอสตาซิออน เด คาทอร์เซ ในวันรุ่งขึ้น ผมเริ่มต้นวันด้วยการขนสัมภาระ และ อุปกรณ์ทั้งหมดขึ้นบนรถ โดยผมพยายามที่จะเลียนแบบการขี่ครั้งก่อนที่ผมเดินทางไปยังพาตาโกเนีย เราเริ่มออกเดินทางไปตามถนนหินกรวดที่ขรุขระ และ ไม่เรียบเส้นเดียวกับเมื่อวาน

     แต่สำหรับวันนี้ ถนนเส้นนี้ยังแคบและชันมากอีกด้วย ทันทีที่เรามาถึงริมเขตหมู่บ้าน เราสามารถมองเห็นถนนแคบๆ ที่เต็มไปด้วยเศษหินคมกระจัดกระจายอยู่ทั่ว นอกจากนี้ ไหล่ทางฝั่งซ้ายยังเป็นเหวลึกที่ไม่มีขอบกั้นทางอีกด้วย ถึงแม้ว่า GS ของผมจะบรรทุกน้ำหนักมาเต็มพิกัด รวมทั้งยังต้องขี่ลงเขาที่ชันมาก แต่รถมอเตอร์ไซค์ของผมยังคงเสถียรภาพเอาไว้ได้เป็นอย่างดี

    ระบบกันสะเทือนต้องรับการกระแทกอย่างรุนแรงหลายครั้ง
 
    แต่ผมยังคงรู้สึกว่าสามารถควบคุมรถได้อย่างเต็มที่ ผมปรับคลายการคืนตัวของโช้คอัพอีกนิดหน่อย ซึ่งช่วยให้การขับขี่นุ่มนวลขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้น้ำมันมีการถ่ายเทภายในโช้คอัพ ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีขึ้น


     หลังจากที่เราลงมาถึงยังก้นหุบเขา และ เดินทางมาถึงยังเอสตาซิออน เด คาทอร์เซ เราได้ขี่วนย้อนกลับไปยังหมู่บ้านโพเตรโร ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อีกแห่งหนึ่งที่อาจจะดูเหมือนกับเป็นฉากสำหรับถ่ายทำภาพยนตร์ แต่ว่าที่นี่คือหมู่บ้านที่มีผู้คนอาศัย อยู่จริงๆ

     โดยใกล้ๆ กันกับหมู่บ้านโพเตรโรมีสถานีรถไฟร้างที่ไม่ใช้งานแล้วอยู่ สถานที่แห่งนี้เป็นหนึ่งในสถานที่ที่อยู่ใน รายการถ่ายภาพของเรา และ เช่นเดียวกับจุดสนใจอื่นๆ ในบริเวณนี้ ถนนที่จะเข้าไปยังสถานที่แห่งนี้นั้นขี่เข้าไปได้ ยากมาก ถนนนี้เป็นส่วนหนึ่งของก้นแม่น้ำที่แห้งของตามฤดูกาล และเต็มไปด้วยก้อนหินขนาดใหญ่ประมาณลูกซอฟต์บอล

     เช่นเดียวกับทางสายอื่นๆ แต่คราวนี้เป็นหินที่กระจัดกระจายอยู่ตามธรรมชาติ ไม่ได้มีการอัดลงบนผิวถนน สำหรับนักขี่ไซส์ผมที่ออกจะขาสั้นอยู่สักหน่อย การหยุดจอด “พักหายใจ” ไม่ใช่ทางเลือกที่ทำได้ ผมจึงจำเป็นต้องเลือก ไลน์ขี่ให้ดีและหวังว่าจะสามารถควบคุมรถได้ แต่ถ้าคุณขี่ GS แบบเปล่าๆไม่มีกระเป๋า อุปกรณ์ หรือคนซ้อน การขี่บนทางสายนี้ก็น่าจะไม่ยากเท่า

     เช่นเดียวกับนักขี่ท่องเที่ยวระยะไกลอีกหลายคนที่ใช้ระบบกันสะเทือนที่ติดมากับรถหรือแม้แต่ระบบกันสะเทือนอาฟเตอร์ มาร์เก็ตหลายๆ รุ่น เรามักจะพบว่า โอกาสที่จะเลือกสภาพของถนนได้อย่างที่ใจชอบเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้ ซึ่งในตอนนี้แหละที่เราจะรู้สึกตัวได้ทันทีว่าเราแบกของไร้สาระที่ไม่จำเป็นมามากเกินไปแล้ว ตัวมอเตอร์ไซค์เองนั้นก็หนัก มากอยู่แล้ว โช้คอัพก็หดเข้าจนสุด และ คุณแทบจะไม่สามารถควบคุมรถได้เลยในขณะที่ล้อกระแทกลงกับพื้น ยิ่งไปกว่านั้น คุณยังอาจจะพบอีกว่าซีลโช้คอัพแตก ทำให้น้ำมันหรือแก๊สภายในรั่วออกมาหมดหรือหัวโช้คอาจจะแตกทำให้สปริงไม่สามารถ ทำงานได้ ความเสียหายรุนแรงเหล่านี้เองที่ Touratech เน้นเป็นพิเศษที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับระบบกันสะเทือนรุ่นใหม่

     โดยมีการออกแบบระบบกันสะเทือนเผื่อไว้สำหรับกรณีที่เลวร้ายที่สุดรวมถึงใช้วัสดุและชิ้นส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุด ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้แค่ช่วยให้ผมมั่นใจมากขึ้นกับสมรรถนะของมอเตอร์ไซค์เท่านั้นแต่ยังช่วยให้ผมสบายใจได้อีกว่าจะระบบกัน สะเทือนจะไม่เกิดความเสียหายจนทำให้ผมต้องติดอยู่กลางทะเลทรายอาตากามา เพื่อดูข้อมูลของระบบกันสะเทือนทุกรุ่นจาก Touratech

เพื่อดูข้อมูลของระบบกันสะเทือนทุกรุ่นจาก Touratech